วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Network Interface Card (NIC)


Network Interface Card (NIC)


Network Interface Card (NIC) หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า แลนการ์ด (LAN Card)เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ในการต่อกับระบบเครือข่ายปัจจุบัน LAN Card ที่นิยมจะเป็นแบบหัว RJ-45 โดยจะมีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือ แบบเป็นแผ่นการ์ด สำหรับเสียบเข้าช่องสลอต PCI บนเมนบอร์ด และ แบบที่ที่ฝั่งอยู่บนตัวเมนบอร์ด (Onboard LAN Card) อัตราข้อมูลที่สามารถส่งผ่านมีได้หลายระดับ เช่น 10 Mbps, 100 Mbps, 1000 Mbps


ดังนั้น Network Interface Card (NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย จะติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย


หน้าที่Network Interface Card (NIC) คือ แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้


ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย









เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส ISA


ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว จะเห็นว่าที่ด้านหลังมีขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4,BNC และ Au ขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4 จะต้องทำงานร่วมกับกล่องฮับส่วนขั้วเชื่อมต่อแบบ BNC ไม่ต้องใช้ฮับร่วมทำงานเพราะใช้ T-Connector และTerminator (ตัวปิดหัวท้าย)แทนการ์ดเน็ตเวิร์กจะมีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสลอตบนเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ISA, PCI, PCMCIA USB Port หรือ Compact Flash


เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส PCI


PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมสูงมาก ซึ่งได้เข้ามาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์ต่อวินาทีนอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์อินเทอร์เฟซอัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมาจะมองเห็นและใช้งานได้ทันที
PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เป็นการ์ดเสียบขนาดเล็ก เท่ากับบัตรเครดิตเป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น การ์ดหน่วยความจำ แฟกซ์ โมเด็มการ์ดเน็ตเวิร์ก หรือ ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก

เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส USB Port
USBPort (Universal Serial Bus)เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อได้ จำนวนมากถึง100 กว่าตัว

Hub

Hub คืออะไร

Hub หรือ Ethernet hub, active hubnetwork hubrepeater hubmultiport repeater ทั้งหมดนี้เรียกง่ายๆว่า Hub และส่วน hub คืออะไร ? มันคืออุปกรณ์ network อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่ เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นใน network เข้าด้วยกันและสร้างมันจนเป็นระบบ network ลักษณะ hub คือมีช่อง input/output (I/O) port หลายช่อง ไว้สำหรับรับส่งสัญญาณ
Hub ทำงานในระดับ Physical layer (layer 1) ถ้าเทียบใน OSI model เช่น repeter hub ทำหน้าที่หลบเลี่ยงการชนกันของช่องสัญญาณ และจัดการช่องสัญญาณให้กับทุก port ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย Switch แล้ว ยกเว้นระบบเก่าๆที่ติดตั้งมานานก่อนปี 2011
hub port

การใช้งาน Hub

1. การทำงานของ Physical layer

Hub เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความซับซ้อนถ้าเทียบกับ Switch เพราะการทำงาน เป็นเพียงแค่ repeater ที่มีหลาย port ทำงานโดย repeating bits ที่ได้รับจาก port หนึ่งไปยังอีก port หนึ่ง โดยจะคอยตรวจสอบ packet ในระดับ physical layer ไม่ให้เกิดการชนกัน (Jam signal) ภายใน hub/repeater ไม่มี memory สำหรับเก็บข้อมูล โดย packet จะถูก retransmit ถ้าเกิด packet lost ก่อนที่ปลายทางจะได้รับ

2. เชื่อมต่อกันระหว่าง hub ด้วยกัน

เนื่องจากความสามารถในการตรวจสอบการชนกันของ packet และ ขนาดของ network ที่เชื่อมด้วย hub นั้นมีจำกัด (สำหรับ switch แล้วไม่มีข้อจำกัดนี้) ด้วยความเร็ว 10 Mb/s สามารถทำได้ด้วย hub  แต่สำหรับ 100 Mb/s ขึ้นไปค่อนข้างยากแล้ว ต้องเปลี่ยนไปใช้ switch แทน

4. Fast Ethernet

100 Mb/s hub และ repeater มีด้วยกัน 2 ระดับ (Class)
  • Class I: สัญญาณ delay สูงสุด 140 bit (00Base-TX, 100Base-FX, 100Base-T4)
  • Class II: สัญญาณ delay สูงสุด 92 bit (ใช้ 2 hub ใน 1 domain)

5. Dual-speed hub

ก่อนหน้านี้ switch มีราคาแพง hun จึงถูกใช้งาน และ อุปกรณ์อื่นเองก็รองรับเพียงแค่ 10 Mb/s แต่ถ้ามีอุปรณ์ที่รองรับสูงกว่านั้น ก็จะใช้งานได้เพียง 10 Mb/s เช่นกัน จึงได้มีการคิดค้น dual-speed hub ที่ทำ bridge  10 Mb/s และ 100 Mb/s  แยก port กันออกมา แต่ก็ยังคงเรียกว่า Hub เพราะ traffic ที่วิ่งกันยังเชื่อมต่อด้วย speed เท่าเดิม ไม่เหมือน switch

6. Gigabit Ethernet hub

มีการทำ repeater hub ในระดับ Gigabit Ethernet ออกมา แต่การตลาดของสินค้าไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากถูกแทนที่ด้วย Switch ไปเรียบร้อยแล้ว

*** สัญลักษณ์ Hub ในระบบ Network คือ
hub-symbol

Router

Router คืออะไร

Router คือ อุปกรณ์ network ที่ทำหน้าที่รับส่ง data packet ระหว่างอุปกรณ์ เช่นเดียวกับ hub และ switch โดย Router จะพิเศษตรงที่ใช้งานกับ traffic บน internet โดยข้อมูลปกติจะถูกส่งต่อระหว่าง router ด้วยกันผ่านระบบ network ไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงปลายทาง ซึ่ง router สามารถต่อเข้ากับ network ได้หลาย network และจะมีการเก็บข้อมูลที่เรียกว่า routing table หรือ routing policy ไว้ใช้ในการเลือกเส้นทางที่จะส่งข้อมูลข้าม network
ปัจจุบัน router ถูกใช้งานมากใน ที่อยู่อาศัย และ office ขนาดเล็ก ทำหน้าที่ส่ง IP packet ระหว่าง computer ภายในบ้านไปสู่ internet ตัวอย่างเช่น DSL router ที่ใช้งานเชื่อมต่อ internet ไปยัง Internet service provider (ISP) และส่วนระบบ router ขั้นสูง ได้แก่ enterprise routers ที่เชื่อมต่อธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ISP network ทำการส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านทาง optical fiber ไปยัง internet backbone
router

การทำงานของ Router

เมื่อมีการนำ router หลายๆตัวมาทำเป็น interconnected networks ซึ่ง router สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของอุปกรณ์ปลายทางด้วย dynamic routing protocol โดยแต่ละ router จะสร้าง routing table ขึ้นมาเป็น list ที่ระบุเส้นทางระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันใน interconnected networks
router เองอาจจะมีการเชื่อมต่อระดับ physical ที่แตกต่างกันเช่นใช้ ทองแเดง, fiber optic หรือ wireless ซึ่ง firmware สามารถรองรับมาตราฐานของ protocol ที่แตกต่างกันได้ และยังสามารถเชื่อมต่อในลักษณะ logical group หรือที่เรียกกันว่า subnet ซึ่ง routing table เองก็สามารถใช้ prefix subnet เป็นเงือนไขในการเลือกเส้นทาง แทนที่จะต้องจดจำแยกทุก IP address
Router มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
Control plane: router เก็บ routing table ที่เป็นชุดเส้นทางสำหรับการส่งข้อมูลออกไปยังปลายทาง รวมถึง physical interface ซึงทำได้โดย configure ที่ติดมาแต่เริ่มแรกทีเรียกว่า static route หรือ อาจจะใช้การเรียนรู้ผ่าน dynamic routing protocol สำหรับ static หรือ dynamic route จะถูกเก็บใน Routing Information Base (RIB) และ เมื่อเอามากรองส่วนที่ไม่จำเป็นออกจาก RIB เพื่อสร้างเป็น Forwarding Information Base (FIB) สำหรับให้ forwarding-plane ทำงาน
Forwarding plane: router จะทำการส่งข่อมูล packet ทั้งขาเข้าและขาออก โดยอาศัยเส้นทางจาก routing table

*** สัญลักษณ์ Router ในระบบ Network คือ
router

Switch

Switch คืออะไร

Network switch หรือ switching hub, bridging hub switch คืออะไร ? switch เป็นอุปกรณ์ในระบบ computer network เช่นเเดียวกับ Hub ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆเข้าด้วยกันในระบบ โดยอาศัยการทำ packet switching ซึ่งจะ รับ, ประมวลผล และส่งข้อมูลต่อไปยังปลายทาง เพียงแค่หนึ่ง หรือ หลาย port ไม่ใช่การ broadcast ไปทุก port เหมือนกับ hub
Switch จะมีด้วยกันหลาย port มีการระบุที่อยู่ (address) ประมวลผลก่อนที่จะ ส่งข้อมูลต่อไปในระดับ data link layer (layer 2) ใน OSI model บาง switch สามารถประมวลผลในระดับ network layer (layer 3) ซึ่งจะเป็นความสามารถในการทำ routing ซึ่งมักจะใช้งานกับ IP address เพื่อทำ packet forwarding เรามันจะเรียกว่า L3-Switch หรือ multilater switch
switch

คุณสมบัติของ Switch

เป็นอุปกรณ์ อิเล็คทรอนิค ทีเชื่ออุปกรณ์ network เข้าด้วยกัน โดยอาศัยสาย cable ต่อเข้ากับ port แต่ละอุปกรณ์ และยังสามารถจัดการเชื่อมต่อระหว่าง network ได้ อุปกรณ์แต่ละตัวที่ต่อเข้ากับ switch จะได้รับ network address เป็นตัวบอกตัวตนของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้การส่งข้อมูล packet ไปถึงได้ถูกต้องและเจาะจง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับ network


1. การทำงานของ switch

Switch ทำงานในระดับ data link layer (layer 2) มีการแบ่ง collision domain ของแต่ละ port เพื่อให้สามารถส่งข่อมูลหากันได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ชนกันได้ แต่ด้วยคุณสมบัติ half duplex mode ทำให้ port เดียวกันทำหน้าที่ ส่ง หรือ รับ ข้อมูลได้อย่างใดอย่างนึงเท่านั้นในช่วงเวลานั้น แต่ถ้าอุปกรณ์ที่ต่อรองรับ full duplex mode ก็จะสามารถส่งและรับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน
จะเห็นได้ว่าถ้าเทียบกับ repeater hub แล้ว การส่งข้อมูลทำได้เพียงแต่ port เดียวในช่วงเวลานั้น จากคุณสมบัติที่ต้อง broadcast รวมถึงทำงานแบบ half duplex ทำให้ bandwidth ที่ได้ค่อนข้างต่ำ จากการชนกันของ packet และต้อง retransmit บ่อยครั้ง

2. การใช้งาน switch

Network switch มีบทบาทใน Ethernet local area networks (LANs) อย่างมาก ตั้งแต่ระบบ ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ LAN จะประกอบด้วย switch จำนวนหนึง ที่ทำหน้าที่จัดการระบบ network เช่น Small office/home office (SOHO) อาจจะใช้ switch เพียงตัวเดียว รวมถึง office ขนาดเล็ก หรือ ที่พักอาศัย ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะนำไปเชื่อมต่อกับ router เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อ ineternet หรือ ทำ Voice over IP (VoIP)

3. Microsegmentation

การแบ่ง segment ที่ใช้ใน bridge หรือ switch (router) เพื่อแบ่ง collision domain ขนาดใหญ่ออกเป็นขนาดเล็ก เพื่อลดการชนกันของ packet รวมถึงเพิ่ม throughput ให้กับ network ในการทำงานขั้นสูง อุปกรณ์แต่ละตัวจะได้รับการเชื่อมต่อ port ของตัวเอง ซึ่งแต่ละ port จะแยก collision domain เป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้แต่ละ อุปกรณ์สามารถใช้งาน bandwidth ต่างกันตามการรองรับได้อีกทั้งยังทำ Full-duplex mode ได้

ประเภทของ Switch

  • L1-Switch: ทำงานระดับ Physical layer ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ hub เป็นเหมือน repeater ทำหน้าที่ broadcast ข้อมูลไปทุกๆ port ทำให้ติดข้อจำกันเรื่องความเร็ว
  • L2-Switch: ทำงานระดับ Data link later ทำหน้าที่เป็น network bridge ซึ่ง switch ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ มีประสิทธิภาพสูงกว่า hub หรือ L1-switch
  • L3-Switch: ทำงานระดับ Network layer ทำหน้าที่เป็น router มีคุณสมบัติ IP multicast ส่งข้อมูลให้เป็น group ได้

*** สัญลักษณ์ Switch ในระบบ Network คือ
switch icon

Bridge

บริดจ์ (Bridge) คือ อะไร

      บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting)ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นการรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น

Bridge ทำงานอย่างไร

การทำงานของ Bridge

        หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2 ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กัน
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูล Broadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้

ความแตกต่างระหว่าง Bridge and Router ?

      ข้อแตกต่างกัน ระหว่างบริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่าย มีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วย บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)

      เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ หลาย เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึง โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบ การรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “แพ็กเก็ต” (Packet) ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต สามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่าย LAN และ WAN โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง ดังนั้น จึงต้องมีแอดเดรสปรากฎอยู่ในแพ็คเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับแอดเดรสหรือตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่า “ไอพีแอดเดรส” (IP Address) แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ใด และ ปลายทางอยู่ที่ใด การเลือกเส้นทาง..จึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและ ปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วย บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)

Repeater

รีพีตเตอร์ (Repeater)

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขยายสัญญาณเมื่อสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายยาวมากขึ้น เพื่อขยายสัญญาณที่ถูกลดทอนลงเนื่องจากระยะทาง อุปกรณ์รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer แต่ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์ คือ มันจะทำงานในระดับต่ำ โดยไม่สนใจสัญญาณที่ส่งว่าเป็นข้อมูลอะไร จากไหนถึงไหน รู้แต่ว่าถ้ามีสัญญาณเข้ามาทางฟากหนึ่งก็จะขยายแล้วส่งต่อออกไปยังอีกฝากหนึ่งให้เสมอ ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ดังนั้นรีพีตเตอร์จึงไม่ได้มีส่วนช่วยจัดการจราจรหรือลดปริมาณข้อมูลที่ส่งออกมาบนเครือข่าย LAN  อุปกรณ์อื่น  ไม่ว่าจะเป็นฮับ,บริดจ์, เร้าเตอร์, และเกตเวย์ ต่างก็มีความสามารถของรีพีตเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น

Modem

Modem คือ?

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอุปกรณ์ที่มีหน้าที่นี้คือ โมเด็ม (Modem) ซึ่งแน่นอนว่าโมเด็มมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อค (Analog) ให้กลายเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital) และแปลงจากสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อคซึ่งหน้าที่การทำงานของโมเด็มจะทำงานซ้ำๆกันเช่นนี้ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโมเด็มให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสม เราเตอร์ (Router) เข้าไว้ในโมเด็มด้วย ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ยินคำว่า Modem Router มากขึ้น
หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า Modem Router มีความแตกต่างจาก โมเด็ม แบบปกติอย่างไร โดยเราต้องมองแยกกันเป็น 2 อุปกรณ์คือ อุปกรณ์ตัวแรกคือ โมเด็ม และอุปกรณ์ตัวที่สองคือ เราเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน
โมเด็ม (Modem) มีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากสายโทรศัพท์ที่เป็นสัญญาณอนาล็อค มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการจะส่งข้อมูลออกไปจะส่งเป็นสัญญาณดิจิตอลไปยังโมเด็ม โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลที่ได้รับเป็นสัญญาณอนาล็อคเพื่อทำการส่งไปยังสายโทรศัพท์ โดยปกติแล้วลักษณะของโมเด็มจะมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะแต่ในที่นี้จะขอพูดถึงโมเด็มที่ใช้ติดตั้งภายนอกคอมพิวเตอร์หรือ External Modem ลักษณะของโมเด็มประเภทนี้จะมีช่องเสียบ RJ-11 ซึ่งรองรับไว้เสียบกับสายโทรศัพท์ และช่องเสียบแบบ RJ-45 อีกหนึ่งช่องเพื่อให้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
Modem Router

GATEWAY

GATEWAY (เกตเวย์ ) 

จุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

ภาพประกอบบทความเกี่ยวกับความหมายของ Gateway
             ​ หลายๆ ท่านที่ทำงานหรือศึกษาเกี่ยวกับแวดวงของเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์การเชื่อมต่อต่างๆ ก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า อุปกรณืที่เราจะใช้เป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครื่อข่ายต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต เราจะเรียกว่า เกต์เวย์ สำหรับบทความนี้จะขออธิบายความหมายและลักษณะของเกต์เวย์ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับท่านที่กำลังจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้  เกตเวย์ Gateway หมายถึง จุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ  router (เร้าเตอร์) ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node (โหนด)ของ เกตเวย์ gateway และ node ของ host (โฮส) เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ เกตเวย์ gateway

ลักษณะการทำงานของ เกตเวย์ GATEWAY

             เกตเวย์ Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น  ซึ่งเกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN (อีเทอร์เน็ต แลน) ที่ใช้สายส่งแบบ UTP (ยูทีพี) เข้ากับ Token Ring LAN (โทคเคน ริง แลน) ได้
             กล่าวโดยสรุปได้ว่า เกตเวย์ก็เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทำให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ หากโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกันเกตเวย์ ก็จะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ที่แต่ละเครือข่ายใช้งานอยู่นั้นได้ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์เกตเวย์จึงมีราคาแพงและขั้นตอนในการติดตั้งจะซับซ้อนที่สุดในบรรดาอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมด

สไลด์

สมาชิก

สมาชิก

นาย สิรวิชญ์ โพธิ์คูณ ม.5/4 เลขที่ 3
นาย อินทัช เตียวิเศษ ม.5/4 เลขที่ 5
นาย วีรภัทร แสงอ่วม ม.5/4 เลขที่ 6
นาย ภานุวัฒน์ สารพัฒน์ ม.5/4 เลขที่ 7
นาย เนติพงษ์ พัธโนทัยธาดา ม.5/4 เลขที่ 9
นาย พัชรพล ไชยวงค์ ม.5/4 เลขที่ 11



อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับ- ส่งข้อมูลในเครือข่าย   หรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลได้ดี และส่งในระยะที่ไกลมากขึ้น  หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป